วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขนาดของบายศรี


       
                1.บายศรีปากชามขันโตกไม้


ขนาดที่จำหน่าย
          บายศรีปากชามขันโตกไม้  3  นิ้ว 
                        บายศรีปากชามขันโตกไม้  4  นิ้ว  
                        บายศรีปากชามขันโตกไม้  5  นิ้ว  
                        บายศรีปากชามขันโตกไม้  6  นิ้ว  
       
                  2. บายศรีขันผูกมือขันโตกไม้
   

 ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีขันผูกมือขันโตกไม้  3  นิ้ว 
        บายศรีขันผูกมือขันโตกไม้  4  นิ้ว  
        บายศรีขันผูกมือขันโตกไม้  5  นิ้ว 
        บายศรีขันผูกมือขันโตกไม้  6  นิ้ว  


              3.  บายศรีขันผูกมือ 3 ชั้น




 ขนาดที่จำหน่าย

         บายศรีขันผูกมือ 3 ชั้น (พานแดง)   


  

            4.  บายศรีเทพขันโตกไม้



ขนาดที่จำหน่าย
       บายศรีเทพขันโตกไม้   3  นิ้ว  
       บายศรีเทพขันโตกไม้   4 นิ้ว 
       บายศรีเทพขันโตกไม้  5  นิ้ว 
       บายศรีเทพขันโตกไม้  6  นิ้ว 



5.  บายศรีเทพขันโตกไม้ (ดอกบัว)



ขนาดที่จำหน่าย

       บายศรีเทพขันโตกไม้ (ดอกบัว)   3  นิ้ว  
       บายศรีเทพขันโตกไม้ (ดอกบัว)   4  นิ้ว  
       บายศรีเทพขันโตกไม้ (ดอกบัว)   5  นิ้ว
       บายศรีเทพขันโตกไม้ (ดอกบัว)   6  นิ้ว 


          6.  บายศรีเทพหงส์ขันโตกไม้


ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีเทพหงส์ขันโตกไม้    3  นิ้ว  
        บายศรีเทพหงส์ขันโตกไม้    4  นิ้ว 
        บายศรีเทพหงส์ขันโตกไม้    5  นิ้ว
        บายศรีเทพหงส์ขันโตกไม้    6  นิ้ว  


           7. บายศรีเทพบงกชขันโตกไม้


    ขนาดที่จำหน่าย

            บายศรีเทพบงกชขันโตกไม้    3  นิ้ว  
            บายศรีเทพบงกชขันโตกไม้    4  นิ้ว  
            บายศรีเทพบงกชขันโตกไม้    5  นิ้ว 
            บายศรีเทพบงกชขันโตกไม้    6  นิ้ว 


8.  บายศรีเทพประยุกต์



ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีเทพประยุกต์ (เทพ 2 ชั้น)   



           9. บายศรีพรหมเปิด


ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีพรหมเปิดขันโตกไม้    4  นิ้ว  
        บายศรีพรหมเปิดขันโตกไม้    5  นิ้ว  
        บายศรีพรหมเปิดขันโตกไม้    6  นิ้ว 




                10. บายศรีพรหมสี่หน้า


ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีพรหมสี่หน้าขันโตกไม้    5  นิ้ว  
        บายศรีพรหมสี่หน้าขันโตกไม้    6  นิ้ว  


             11.  บายศรีกำเนิดเจ้าแม่กวนอิม



    ขนาดที่จำหน่าย

              บายศรีกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมขันโตกไม้   4  นิ้ว 
              บายศรีกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมขันโตกไม้   5  นิ้ว 
              บายศรีกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมขันโตกไม้   6  นิ้ว  

             12.  บายศรีพานพุ่ม


ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีพานพุ่ม ขันโตกไม้ 6 นิ้ว   





                13.  บายศรีธรรมจักร



ขนาดที่จำหน่าย

         บายศรีธรรมจักร  ขันโตกไม้ 6 นิ้ว 

                14.  บายศรีมุฑิตาจิต



ขนาดที่จำหน่าย

        บายศรีมุฑิตาจิต ขันโตกไม้ 3 นิ้ว   
        บายศรีมุฑิตาจิต ขันโตกไม้ 4 นิ้ว   
        บายศรีมุฑิตาจิต ขันโตกไม้ 5 นิ้ว  
        บายศรีมุฑิตาจิต ขันโตกไม้ 6 นิ้ว   


             15.  บายศรีสู่ขวัญ



ขนาดที่จำหน่าย

         บายศรีสู่ขวัญ 3 ชั้น (หงส์)  ฐานโตกไม้ 5 นิ้ว



       

กลุ่มบายศรีหนองป่าครั่ง

ที่ตั้ง
        กลุ่มบายศรีหนองป่าครั่ง    เลขที่  90/21-22    หมู่ที่  6  ตำบลหนองป่าครั่ง  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  รหัสไปรษณีย์  50000

ประวัติความเป็นมากลุ่มบายศรีหนองป่าครั่ง


            กลุ่มบายศรีหนองป่าครั่ง    อำเภอเมือง    จังหวัดเชียงใหม่    ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่  12  สิงหาคม พ.ศ. 2547    ผู้ริเริ่มก่อตั้งคือ คุณวรรณา   เลิศเกียรติดำรงค์  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มหนองป่าครั่งพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  ได้เห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชน จากการสำรวจทางกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตหาแนวทางในการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่  ประกอบกับในตำบลหนองป่าครั่งมีชาวบ้านที่มีฝีมือในการทำบายศรี  จึงได้จัดให้มีการสอนบายศรีให้กับประชาชนในตำบลหนองป่าครั่ง  ซึ่งมีทั้งหมด  7  หมู่บ้าน  เริ่มแรกประชาชนที่เข้ามาฝึกมีประมาณ  50  คน ทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่  29  สิงหาคม  พ.ศ. 2547  ทุกวันอาทิตย์ เวลา  9.00 17.00 น.  สถานที่ทำการสอนคือ  บริเวณบ้านทอฝัน  ซึ่งเป็นบ้านของคุณวรรณา   เลิศเกียรติดำรงค์  โดยเริ่มต้นจากเรียนบายศรีตอง  แล้วพัฒนามาเป็นบายศรีผ้า  หลังจากที่ได้ทำการสอนมาได้ประมาณ 5  เดือน ปัจจุบัน กลุ่มบายศรีหนองป่าครั่ง  ได้พัฒนาบายศรีผ้าให้มีขนาดเล็กลง (บายศรีจิ๋ว) เพื่อนำเสนอในรูปแบบของฝากของที่ระลึก   และไว้บูชาพระ
      ลิ้งค์ Facebook

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีการทำบายศรี

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบายศรี
            การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เป็นการเตรียมการที่ดี สามารถดำเนินงานได้ด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วซึ่งมีอุปกรณ์ที่ควรจะต้องเตรี ยมไว้ดังต่อไปนี้
1.ใบตอง (ควรให้ใบตองกล้วยตานี)
2. พานแว่นฟ้า ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ผูกติดกันไว้ด้วยลวด และรองพื้นพานด้วยโฟม
3. ภาชนะปากกว้างสำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง 2 ใบ
4. สารส้ม
5. น้ำมันมะกอก ชนิดสีเหลือง หรือขาว
6. ไม้ปลายแหลม (ขนาดไม้เสียบลูกชิ้น) ประมาณ 20-30 อัน
7. ดอกไม้ (ดอกพุด ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ฯลฯ)
8. กรรไกร สำหรับตัดใบตอง
9. ลวดเย็บกระดาษ

การเลือก และการทำความสะอาดใบตอง
        ใบตองที่นำมาใช้สำหรับทำบายศรี มักนิยมใช้ใบตองจากกล้วยตานี เนื่องจากเป็นใบตองที่มีลักษณะเป็นเงา มันวาว เมื่อโดนน้ำจะยิ่งเกิดประกายสีเขียวเข้มสวยงามยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ใบตองจากกล้วยตานี มีความคงทน ไม่แตกง่าย ไม่เหี่ยวง่าย สามารถนำมาพับม้วนเป็นรูปลักษณะต่างๆได้ง่าย และสามารถเก็บไว้ได้นานหลายวัน หรือถ้ารักษาโดยหมั่นพรมน้ำบ่อยๆ ใบตองกล้วยตานี จะสามารถคงทนอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ทีเดียว
เมื่อ ได้ใบตองกล้วยตานีมาแล้ว จะต้องนำมาทำความสะอาดก่อน ด้วยการเช็ด โดยใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออกจากใบตองเสียก่อน โดยการเช็ด จะต้องใช้ผ้าเช็ดตามรอยของเส้นใบไปในทางเดียว อย่าเช็ดกลับไปกลับมา หรืออย่าเช็ดขวางเส้นใบเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ใบตองเสียหาย มีรอยแตก และช้ำ ทำให้ไม่สามารถนำใบตองมาใช้งานได้เต็มที่
       เมื่อเช็ดสะอาดดีแล้ว ก็ให้พับพอหลวมๆ เรียงซ้อนกันไว้ให้เป็นระเบียบ เพื่อรอนำมาใช้งานในขั้นตอนต่อไป

การฉีกใบตองเพื่อเตรีมทำกรวยบายศรี
            ใบตองที่ได้ทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หยิบมาทีละใบ แล้วนำมาฉีกเพื่อเตรียมไว้สำหรับม้วนหรือพับ ทำกรวยบายศรี
การพับหรือฉีกใบตองแบ่งเป็นสามประเภทคือ
1. ใบตองสำหรับทำกรวยแม่ ฉีกกว้างประมาณ 2 นิ้วฟุต
2. ใบตองสำหรับทำกรวยลูก ฉีกกว้างประมาณ 2 นิ้วฟุต
3. ใบตองสำหรับห่อ ฉีกกว้างประมาณ 1.5 นิ้วฟุต
            ใบตอง แต่ละประเภท ควรฉีกเตรียมไว้ให้ได้จำนวนที่ต้องการ กล่าวคือ ถ้าทำพานบายศรี 3 ชั้น ชั้นละ 4 ทิศ ( 4 ริ้ว ) นั่นก็หมายถึงว่าจะมีริ้วทั้งหมด 12 ริ้ว ในแต่ละริ้ว จะประกอบด้วยกรวยแม่ 1 กรวย และ กรวยลูก 9 กรวย รวมทั้งสิ้น จะมีกรวยแม่ 12 กรวย และ กรวยลูก 108 กรวย นั่นเอง แสดงว่าจะต้องมีใบตองสำหรับทำกรวยแม่ 12 ชิ้น ใบตองสำหรับทำกรวยลูก 108 ชิ้น ใบตองสำหรับห่อ 120 ชิ้น นั่นเอง แต่ใบตองสำหรับห่อ จะต้องเตรียมไว้เพื่อห่อริ้วอีก คือใน 1 ริ้วจะประกอบไปด้วย กรวยแม่ 1 กรวย กรวยลูก 9 กรวย ซึ่งจะต้องมาห่อรวมกัน ดังนั้น จึงต้องเพิ่มใบตองสำหรับห่ออีก 120 ชิ้น รวมเป็นใบตองสำหรับห่อ 240
           
การพับกรวยและห่อกรวย


การพับหรือห่อกรวย หมายถึงการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้แล้วสำหรับพับกรวย มาพับ โดยการพับกรวยแม่และกรวยลูกจะมีลักษณะวิธีการพับเหมือนกัน คือ การนำใบตองมาพับม้วนให้เป็นกรวยปลายแหลม เพียงแต่กรวยลูกจะมีการนำดอกพุด มาวางเสียบไว้ที่ส่วนยอดปลายแหลมของกรวยด้วย เมื่อพับหรือม้วนใบตองเป็นกรวยเสร็จในแต่ละกรวยแล้ว ให้นำลวดเย็บกระดาษ มาเย็บใบตองไว้เพื่อป้องกันใบตองคลายตัวออกจากกัน แล้วเก็บกรวยแต่ละประเภทไว้จนครบจำนวนที่ต้องการเมื่อได้กรวยแต่ละประเภทครบ ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็นำกรวยที่ได้มาห่อ โดยการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้สำหรับห่อมาห่อกรวย หรือเรียกอีกอย่างว่า ห่มผ้า หรือ แต่งตัวให้กรวยบายศรี ส่วนวิธีการห่อ ศึกษาได้จากภาพยนตร์ที่แสดงให้ชม ตอนที่ 6 การห่อริ้วบายศรีและการแช่น้ำ
            การห่อริ้วบายศรี คือการนำกรวยแม่ และ กรวยลูกที่ได้ห่อกรวยไว้เรียบร้อยแล้ว มาห่อมัดรวมเข้าไว้ด้วยกัน ที่นิยมทำกัน ใน 1 ริ้ว จะประกอบด้วย กรวยแม่ 1 กรวย กรวยลูก 9 กรวย


วิธีการห่อริ้ว มีการห่อคล้ายกับการห่อกรวยแม่หรือกรวยลูก



แต่จะแบ่งวิธีตามลักษณะงานที่ได้เป็น 2 วิธี คือ

            1. ห่อแบบตรง คือการห่อโดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แล้ววางกรวยลูกไว้ด้านบนกรวยแม่เป็นชั้นๆทับกันขึ้นมา หรือหันกรวยลูกเข้าหาตัวผู้ห่อ การห่อแบบนี้ จะได้ริ้วบายศรีค่อนข้างตรง และในช่วงตัวริ้ว จะมีรอยหยักของใบตองห่อเรียกว่า มีเกล็ด
            2. ห่อแบบหวาน คือการห่อ โดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แต่วางกรวยลูกไว้ด้านล่างของกรวยแม่ และวางซ้อนลงด้านล่างลงไปจนครบ หรือหันกรวยแม่เข้าหาตัวผู้ห่อ โดยวางกรวยลูกลงด้านล่างจนครบนั่นเอง การห่อแบบนี้ จะได้ริ้วบายศรีเป็นลักษณะอ่อนช้อย งอน อ่อนหวาน


เมื่อห่อริ้วจนเสร็จในแต่ละริ้วแล้ว จึงนำริ้วที่ได้ลงแช่ในน้ำผสมสารส้มที่เตรียมไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้ใบตองเข้ารูปทรง อยู่ตัวตามที่ได้พับและห่อ จากนั้น จึงนำไปแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกต่อไป เพื่อให้ริ้วมีความเป็นมันวาว เน้นสีเขียวเข้มของใบตองมากขึ้น และมีกลิ่นหอมในตัวเอง


การประกอบพานบายศรี
            การประกอบพานบายศรี ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำบายศรี คือการนำริ้วที่ทำเสร็จแล้วและแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกแล้ว มาประกอบเข้ากับพานบายศรี 3 ชั้นที่ได้เตรียมไว้
            การน้ำริ้ว มาประกอบกับพาน ควรเริ่มต้นจากพานใหญ่สุด หรือพานที่วางอยู่ชั้นล่างสุดก่อน โดยการวางให้ริ้วอยู่บนพานให้มีระยะห่างเท่าๆกัน 4 ริ้ว ( 4 ทิศ ) ซึ่งจะยึดริ้วติดกับพานโดยใช้ไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้แล้ว มากลัด หรือเสียบจากด้านบนของริ้วให้ทะลุไปยึดติดกับโฟมที่รองไว้บนพื้นพาน
            การ ประกอบริ้วกับพานชั้นกลาง และชั้นบนสุด ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่จะต้องให้ริ้วชั้นที่ 2 วางสลับกับริ้วชั้นแรก และริ้วบนพานชั้นบนสุด ก็ให้สลับกับริ้วบนพานชั้นกลาง การประกอบริ้วกับพานชั้นบนสุด ให้ห่อใบตองเป็นกรวยขนาดใหญ่พอควรวางไว้เป็นแกนกลางของพาน เมื่อวางริ้วทั้ง 4 ริ้วเสร็จแล้ว ให้รวบปลายสุดของริ้วทั้ง 4 เข้าหากัน โดยมีกรวยที่ทำเป็นแกนกลางอยู่ด้านใน แล้วนำใบตองม้วนเป็นกรวยขนาดใหญ่อีกกรวย มาครอบทับยอดทั้ง 4 ของริ้วไว้ ซึ่งจะทำให้พานบายศรีที่ได้ มียอดแหลมที่สวยงามและมั่นคง
            จากนั้นจึงนำ ใบไม้ (ส่วนใหญ่จะนำใบไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล เช่น ใบเงิน ใบทอง ) มาวางรองบนพาน เพื่อปกปิดไม่ให้มองเห็นโฟมที่รองพื้นพาน และนำดอกไม้สีสด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย หรือดอกดาวเรือง มาประดับบนพานเพิ่มความสวยงามหรือทำมาลัย สวมบนยอด หรือทำเป็นอุบะร้อยรอบพานแต่ละชั้น ก็จะเพิ่มสีสัน และความสวยงามให้แก่พานบายศรีมากขึ้น

            ขั้นตอนและวิธีทำบายศรี ก็มีอยู่เพียงเท่านี้ หมั่นศึกษาจากซีดีประกอบการสอนนี้ และฝึกฝนบ่อยๆ ก็จะสามารถทำบายศรีได้ด้วยตนเอง และมีฝีมือสามารถทำบายศรีใช้ในงานพิธีต่างๆ และทำเป็นอาชีพ นำรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว


อ้างอิง : https://sites.google.com/site/baysri00/home/phithikrrm-keiyw-kab-baysri/withi-kar-tha-baysri